วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร



ประวัติของวัดสระเกศ

                        วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า วัดสะแก มีตำนาน เนื่องใน พงศาวดารเมื่อปีขาลจัตวาศกจุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธ ศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร วัดสระเกศมีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา



                        เดิมมีชื่อว่า "วัดสะแก" เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็น ครั้งแรกมีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช๑๑๓๔ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖นั้นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราช วังและพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพู เรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลอง หลอดแลขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อให้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาใน เทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุทธยาและวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหา นาค แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า"วัดสระเกศ"และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศ ทั้งพระอารามตั้งต้น แต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย คำว่า "สระเกศ" นี้ ตามรูปคำ ก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง 



                        มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ ๑๑ ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณะปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า 'วัดสระเกศ'


ประวัติของบรมบรรพต

                   

                     บรมบรรพตนี้ โดยมากเรียกกันว่า ภูเขาทอง สร้างเป็นรูปภูเขา มีพระเจดีย์อยู่บนยอด มีบันไดเวียนเ ป็นทางขึ้นไปถึงพระเจดีย์ ๒ ทางคือด้านเหนือทางหนึ่ง ด้านใต้ทางหนึ่ง สำหรับขึ้นและลงคนละทางเพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล และยังมีบันไดตรงด้านใต้อีกทาง หนึ่งแต่บันไดตรงได้รื้อเสียเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ พ.ศ ๒๔๙๓ ฐานโดยรอบวัดได้

                   

                   ๘ เส้น ๕ วา ส่วนสูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก บรมบรรพตนี้ นับว่าเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง และเป็นสมบัติทรงคุณค่าของชาติอีกด้วยการสร้างบรม บรรพตนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช ประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ให้เหมือนอย่างวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุทธ ยา ซึ่งที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นตั้งอยู่ที่ชายทุ่ง มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง เป็นที่สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาลงไปประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลประจำปี จุดประสงค์เดิมก็เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการประชุม รื่นเริงโดยทาง เรือกันอยู่ทรงพิจารณาเห็นว่าที่วัดสระเกศเป็นสถานที่เหมาะสมจึงโปรดให้ สมเด็จ พระบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างเมื่อแรกลงมือสร้างแล้ว พระราชทานนามว่า พระเจดีย์ภุเขาทอง

                  


[ ข้อมูลเพิ่มเติม และ การเดินทาง ]

ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-621-0576

เว็บไซต์ : http://www.watsrakesa.com

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 8.00 น. - 17.00 น.

การเดินทาง : รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49
เรือโดยสาร: ท่าผ่านฟ้าลีลาศ (คลองแสนแสบ), ท่าภูเขาทอง (คลองผดุงกรุงเกษม)
รถส่วนตัว : จอดภายในบริเวณวัดได้

ค่าใช้จ่าย : คนไทยไม่คิดเงิน, ชาวต่างชาติ 10 บาท

เทศกาล : งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ 7 วัน 7 คืน ในช่วงวันลอยกระทง มีการจัดงานวัดที่ถือเป็นงานวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพฯ และทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนเป็น ช่วงเวลาพิเศษ

 สิ่งที่ไม่ควรพลาด : การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุ, ชมพระบรมบรรพต ภูเขาทองที่ชั้นบนสุด, การเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปและภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ 

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ (ภาษาอังกฤษ: Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม
สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิค เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิค
สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์คือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่นๆ